วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ผมมีวิธีดังต่อไปนี้
 1.วิชาที่สอนตรงตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น และในมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้อย่างไร คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 
2. ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียนดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
3.ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับผู้เรียนและต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้ในแต่ละกิจกรรมที่ผู้สอนจัดสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4.ผู้สอนจะต้องถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนทั้งเรื่องทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็นและเจตคติไปสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้สอนต้องเข้าใจผู้เรียนว่าต้องการสื่อการเรียนการสอนแบบใดและผู้สอนต้องนำมาประยุกต์กับสื่อการเรียนการสอนของตนเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง
5.ผู้สอนต้องวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยจากการวัดผลในเรื่องด้านการคิด อ่าน เขียน ด้านอารมณ์และด้านสติปัญญาของผู้เรียนและจากการร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน
6.ผู้สอนนำผลการประเมินที่ได้มาแก้ไขและหาข้อบกพร่องของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนต่อไป
7.ผู้สอนได้เห็นการจัดการเรียนการสอนของตนเอง แล้วนำมาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เกิดขึ้น โดยผู้สอนจะต้องนำเอาข้อผิดพลาดในการสอนมาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนต่อไป

ขั้นตอนการสอน
ในการนำการสอนแบบนี้ไปใช้  ผมคิดว่าผู้สอนจะต้องเตรียมปัญหา  ในประเด็นที่ต้องการ  โดยเขียนเป็นสถานการณ์  (Scenario)  หรือ กรณี  (Case)  ไว้ล่วงหน้า  และดำเนินการสอนตามขั้นตอน  ดังนี้
1. นำเสนอกรณีตัวอย่าง ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน  เช่นเล่าให้ฟัง  ให้อ่านจากบัตรกรณีตัวอย่าง  ให้ดู  VDO  แสดงบทบาทสมมติ  เป็นต้น
2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม  และทำความเข้ากับคำศัพท์  หรือความคิดรวบยอดของบางอย่าง  ในสถานการณ์  หรือกรณี  ที่กำหนดให้  ให้ชัดเจน  โดยอาศัยความรู้พื้นฐานเดิมของสมาชิกภายในกลุ่ม  หรือจากเอกสาร  และสื่อต่างๆ
3.  ให้กลุ่มระบุประเด็นปัญหาพร้อมทั้งระบุขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน
4.  ให้กลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา  โดยใช้ข้อมูล  และพื้นฐานความรู้เดิมของสมาชิก  เพื่อให้ได้แนวคิดและข้อสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างของปัญหา  กระบวนการ  และกลไกที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อสร้างสมมุติฐานที่สมเหตุสมผลให้ได้มากที่สุด
5.  ให้กลุ่มร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของสมมุติฐาน  โดยอาศัย  ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  รวมทั้งความรู้จากสมาชิกภายในกลุ่ม  เพื่อคัดข้อมูลสมมุติฐานที่เป็นไปได้น้อยออกไป  และเลือกเอาข้อสมมุติฐานที่มีความเป็นไปได้มากไว้ศึกษาต่อไป
6.  ให้กลุ่มร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันตรวจสอบ  และวิเคราะห์  ว่าการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่ได้เลือกไว้  จำเป็นจะต้องหาข้อมูล  ข่าวสาร  หรือความรู้เรื่องใดบ้าง  มาเพิ่มเติมด้วยการเขียนวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ออกมาเป็นข้อๆ
7.  ให้ผู้เรียนแยกย้ายออกไปศึกษา  ค้นคว้า  หาข้อมูล  ความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งวิทยาการต่างๆ  เช่น  เอกสาร  ตำรา  ผู้เชี่ยวชาญ  ฯลฯ
8.  ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  ค้นคว้าเสนอต่อกลุ่ม  ร่วมกันพิจารณา  ตรวจสอบข้อมูลที่จะใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน  หรือการแก้ปัญหาว่าถูกต้องเพียงพอหรือไม่  ถ้ายังมีข้อบกพร่องอยู่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วจึงทำการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่กลุ่มได้ร่วมกันตั้งไว้  และลงข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม  นำข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษา  และแนวทางในการนำความรู้  และหลักการไปใช้  นำเสนอและแลกเปลี่ยนในห้องเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น