วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

       1. กรณีเขาพระวิหาร
ในกรณีของเขาพระวิหารนี้ผมเองก็คิดว่ามันเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ประเทศไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
หลังจากที่ประเทศไทยส่ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ เข้าประชุมกับคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อหาทางออกกรณีที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเพื่อเป็นมรดกโลก โดยทางไทยยืนยันว่าจะขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน ทั้งนี้เพราะเอกสารที่ไทยและกัมพูชามีไม่ตรงกัน โดยไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะวอล์คเอาท์ ออกจากที่ประชุมทันทีหากภาคีมรดกโลกมีมติให้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร

           ล่าสุด นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ประสบความสำเร็จในการเจรจากับภาคีมรดกโลกที่ประเทศบราซิล เมื่อทางคณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้เลื่อนการพิจารณาออกไปในปี 2554 ที่ประเทศบาร์เรน เป็นเจ้าภาพแทน
           ซึ่งนายสุวิทย์ ก็ได้โทรศัพท์กลับมารายงานให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีทราบเรื่องแล้ว เมื่อเช้าวันนี้ (30 ก.ค.) โดยนายสุวิทย์ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนฝ่ายไทย ได้ทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 20 ประเทศ ถึงแผนผังที่ได้แนบมากับเอกสาร ว่ามีการล่วงล้ำอธิปไตยของไทย พร้อมชี้ให้เห็นถึงข้อพิพาทในพื้นที่ดังกล่าวจนทำให้คณะกรรมการมรดกโลกจากหลายประเทศเห็นด้วยกับข้อเสนอของไทย อาทิเช่น บาร์เรน, จีน, ออสเตรเลีย, อียิปต์, สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศบราซิล เจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้
2.กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
  กลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังกันมาหลายปีแล้ว สำหรับข้อพิพาทกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ไทยและกัมพูชาต่างมีจุดยืนที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง และไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ ยิ่งล่าสุด เมื่อกัมพูชาได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นโบราณสถานที่อยู่ในเขตประเทศตน งานนี้ก็เลยทำให้ข้อพิพาทนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่โตขึ้นมาอย่างไม่มีข้อสงสัย และดูท่าว่าเรื่องนี้คงไม่จบกันได้ง่าย ๆ เมื่อไทยและกัมพูชาต่างอ้างอิงแผนที่คนละฉบับกันอยู่ และต่างฝ่ายต่างก็ยืนยันในจุดยืนของตัวเองชัดเจน
          เริ่มจากฝ่ายกัมพูชา ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกลงมติรับรองให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็มาถึงขั้นตอนการนำเสนอการจัดการพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารให้คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณากันแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 22-30 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ประเทศสเปน ซึ่งหากการนำเสนอครั้งนี้ได้รับการลงมติรับรองจากคณะกรรมการมรดกโลก ก็จะทำให้ปราสาทเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์
          ส่วนอีกฝ่าย คือ รัฐบาลไทย ก็ยังยืนยันจุดยืนเดิมว่าจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจ และการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 หรือ เอ็มโอยู แล้วไปยอมรับการแบ่งพื้นที่ตามแผนที่ที่กัมพูชาได้ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ารัฐบาลไทยจะยึดหลักสันปันน้ำในการแบ่งพื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และไม่ยอมรับการใช้พื้นที่ของกัมพูชาอย่างเด็ดขาด เพราะถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีหลายหน่วยงานของไทยแสดงจุดยืนว่า รัฐบาลไม่ใช่เพียงคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเท่านั้น ต้องเรียกร้องยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจและการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 แล้วขับไล่ทหารและชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้หมด เพื่อรักษาผลประโยชน์และอธิปไตยของประเทศไว้
          จากข้อขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาต่างเตรียมแถลงจุดยืนที่หนักแน่น ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล ซึ่งการประชุมนี้ถูกเลื่อนจากวันที่ 28 กรกฎาคมเป็นคืนวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) โดยในการประชุมลงมติกรณีพิพาทดังกล่าวจะใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการจาก 21 ชาติ ซึ่งทางผู้แทนไทยก็ได้หารือกันเกี่ยวกับท่าที แนวโน้มของคะแนนเสียงในที่ประชุม พร้อมทั้งได้มีการโน้มน้าวใจจากคณะกรรมการประเทศอื่นเพื่อสนับสนุนฝ่ายไทย
3.กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
4. กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น