วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ผมมีวิธีดังต่อไปนี้
 1.วิชาที่สอนตรงตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น และในมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้อย่างไร คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 
2. ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียนดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
3.ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับผู้เรียนและต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้ในแต่ละกิจกรรมที่ผู้สอนจัดสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4.ผู้สอนจะต้องถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนทั้งเรื่องทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็นและเจตคติไปสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้สอนต้องเข้าใจผู้เรียนว่าต้องการสื่อการเรียนการสอนแบบใดและผู้สอนต้องนำมาประยุกต์กับสื่อการเรียนการสอนของตนเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง
5.ผู้สอนต้องวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยจากการวัดผลในเรื่องด้านการคิด อ่าน เขียน ด้านอารมณ์และด้านสติปัญญาของผู้เรียนและจากการร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน
6.ผู้สอนนำผลการประเมินที่ได้มาแก้ไขและหาข้อบกพร่องของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนต่อไป
7.ผู้สอนได้เห็นการจัดการเรียนการสอนของตนเอง แล้วนำมาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เกิดขึ้น โดยผู้สอนจะต้องนำเอาข้อผิดพลาดในการสอนมาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนต่อไป

ขั้นตอนการสอน
ในการนำการสอนแบบนี้ไปใช้  ผมคิดว่าผู้สอนจะต้องเตรียมปัญหา  ในประเด็นที่ต้องการ  โดยเขียนเป็นสถานการณ์  (Scenario)  หรือ กรณี  (Case)  ไว้ล่วงหน้า  และดำเนินการสอนตามขั้นตอน  ดังนี้
1. นำเสนอกรณีตัวอย่าง ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน  เช่นเล่าให้ฟัง  ให้อ่านจากบัตรกรณีตัวอย่าง  ให้ดู  VDO  แสดงบทบาทสมมติ  เป็นต้น
2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม  และทำความเข้ากับคำศัพท์  หรือความคิดรวบยอดของบางอย่าง  ในสถานการณ์  หรือกรณี  ที่กำหนดให้  ให้ชัดเจน  โดยอาศัยความรู้พื้นฐานเดิมของสมาชิกภายในกลุ่ม  หรือจากเอกสาร  และสื่อต่างๆ
3.  ให้กลุ่มระบุประเด็นปัญหาพร้อมทั้งระบุขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน
4.  ให้กลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา  โดยใช้ข้อมูล  และพื้นฐานความรู้เดิมของสมาชิก  เพื่อให้ได้แนวคิดและข้อสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างของปัญหา  กระบวนการ  และกลไกที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อสร้างสมมุติฐานที่สมเหตุสมผลให้ได้มากที่สุด
5.  ให้กลุ่มร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของสมมุติฐาน  โดยอาศัย  ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  รวมทั้งความรู้จากสมาชิกภายในกลุ่ม  เพื่อคัดข้อมูลสมมุติฐานที่เป็นไปได้น้อยออกไป  และเลือกเอาข้อสมมุติฐานที่มีความเป็นไปได้มากไว้ศึกษาต่อไป
6.  ให้กลุ่มร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันตรวจสอบ  และวิเคราะห์  ว่าการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่ได้เลือกไว้  จำเป็นจะต้องหาข้อมูล  ข่าวสาร  หรือความรู้เรื่องใดบ้าง  มาเพิ่มเติมด้วยการเขียนวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ออกมาเป็นข้อๆ
7.  ให้ผู้เรียนแยกย้ายออกไปศึกษา  ค้นคว้า  หาข้อมูล  ความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งวิทยาการต่างๆ  เช่น  เอกสาร  ตำรา  ผู้เชี่ยวชาญ  ฯลฯ
8.  ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  ค้นคว้าเสนอต่อกลุ่ม  ร่วมกันพิจารณา  ตรวจสอบข้อมูลที่จะใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน  หรือการแก้ปัญหาว่าถูกต้องเพียงพอหรือไม่  ถ้ายังมีข้อบกพร่องอยู่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วจึงทำการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่กลุ่มได้ร่วมกันตั้งไว้  และลงข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม  นำข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษา  และแนวทางในการนำความรู้  และหลักการไปใช้  นำเสนอและแลกเปลี่ยนในห้องเรียน

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

       1. กรณีเขาพระวิหาร
ในกรณีของเขาพระวิหารนี้ผมเองก็คิดว่ามันเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ประเทศไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
หลังจากที่ประเทศไทยส่ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ เข้าประชุมกับคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อหาทางออกกรณีที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเพื่อเป็นมรดกโลก โดยทางไทยยืนยันว่าจะขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน ทั้งนี้เพราะเอกสารที่ไทยและกัมพูชามีไม่ตรงกัน โดยไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะวอล์คเอาท์ ออกจากที่ประชุมทันทีหากภาคีมรดกโลกมีมติให้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร

           ล่าสุด นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ประสบความสำเร็จในการเจรจากับภาคีมรดกโลกที่ประเทศบราซิล เมื่อทางคณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้เลื่อนการพิจารณาออกไปในปี 2554 ที่ประเทศบาร์เรน เป็นเจ้าภาพแทน
           ซึ่งนายสุวิทย์ ก็ได้โทรศัพท์กลับมารายงานให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีทราบเรื่องแล้ว เมื่อเช้าวันนี้ (30 ก.ค.) โดยนายสุวิทย์ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนฝ่ายไทย ได้ทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 20 ประเทศ ถึงแผนผังที่ได้แนบมากับเอกสาร ว่ามีการล่วงล้ำอธิปไตยของไทย พร้อมชี้ให้เห็นถึงข้อพิพาทในพื้นที่ดังกล่าวจนทำให้คณะกรรมการมรดกโลกจากหลายประเทศเห็นด้วยกับข้อเสนอของไทย อาทิเช่น บาร์เรน, จีน, ออสเตรเลีย, อียิปต์, สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศบราซิล เจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้
2.กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
  กลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังกันมาหลายปีแล้ว สำหรับข้อพิพาทกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ไทยและกัมพูชาต่างมีจุดยืนที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง และไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ ยิ่งล่าสุด เมื่อกัมพูชาได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นโบราณสถานที่อยู่ในเขตประเทศตน งานนี้ก็เลยทำให้ข้อพิพาทนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่โตขึ้นมาอย่างไม่มีข้อสงสัย และดูท่าว่าเรื่องนี้คงไม่จบกันได้ง่าย ๆ เมื่อไทยและกัมพูชาต่างอ้างอิงแผนที่คนละฉบับกันอยู่ และต่างฝ่ายต่างก็ยืนยันในจุดยืนของตัวเองชัดเจน
          เริ่มจากฝ่ายกัมพูชา ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกลงมติรับรองให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็มาถึงขั้นตอนการนำเสนอการจัดการพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารให้คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณากันแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 22-30 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ประเทศสเปน ซึ่งหากการนำเสนอครั้งนี้ได้รับการลงมติรับรองจากคณะกรรมการมรดกโลก ก็จะทำให้ปราสาทเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์
          ส่วนอีกฝ่าย คือ รัฐบาลไทย ก็ยังยืนยันจุดยืนเดิมว่าจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจ และการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 หรือ เอ็มโอยู แล้วไปยอมรับการแบ่งพื้นที่ตามแผนที่ที่กัมพูชาได้ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ารัฐบาลไทยจะยึดหลักสันปันน้ำในการแบ่งพื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และไม่ยอมรับการใช้พื้นที่ของกัมพูชาอย่างเด็ดขาด เพราะถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีหลายหน่วยงานของไทยแสดงจุดยืนว่า รัฐบาลไม่ใช่เพียงคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเท่านั้น ต้องเรียกร้องยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจและการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 แล้วขับไล่ทหารและชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้หมด เพื่อรักษาผลประโยชน์และอธิปไตยของประเทศไว้
          จากข้อขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาต่างเตรียมแถลงจุดยืนที่หนักแน่น ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล ซึ่งการประชุมนี้ถูกเลื่อนจากวันที่ 28 กรกฎาคมเป็นคืนวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) โดยในการประชุมลงมติกรณีพิพาทดังกล่าวจะใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการจาก 21 ชาติ ซึ่งทางผู้แทนไทยก็ได้หารือกันเกี่ยวกับท่าที แนวโน้มของคะแนนเสียงในที่ประชุม พร้อมทั้งได้มีการโน้มน้าวใจจากคณะกรรมการประเทศอื่นเพื่อสนับสนุนฝ่ายไทย
3.กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
4. กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป