วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครืองมือบล็อก

นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
 1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ มีความสะดวกมาก รวดเร็ว ทันใจ จะส่งเวลาไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตใช้เพราะบางทีเวลาในคาบเรียนน้อยไม่พอต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือมีปัญหาในการต่อ Internet บ้างในบางครั้ง และควรไปอย่างช้า เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและให้เวลาในการส่งงาน
 2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ  
ตอบ     ได้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อกมากและวิธีการตกแต่งบล็อกให้สวยงามน่าสนใจ  การใช้เครื่องมือในการเสนองาน และวิธีการนำเสนองานที่หลากหลายได้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกเป็นการประหยัดเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์ มีความรู้มากๆครับ
 3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ  ข้อดี การเรียนวิชากาจัดการในชั้นเรียนโดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาอื่นโดยอาจารย์ได้สอนความรู้ใหม่ๆ  ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความรู้ในการทำWeb Blog เป็นของตัวเอง เพื่อใช้ในโอกาสต่อไปในการสอนแบบบรูณาการที่ทันสมัย ทันต่อโลกแห่งเทคโนโลยีและเป็นที่แลกเปลี่ยนและสะสมความรู้
          ข้อเสีย  การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนัก  โดยเกิดความลำบากในการเรียน   จึงเกิดปัญหาในการเรียนและทุกคนยังไม่มีcomputerที่จะใช้งานเนื่องจากฐานะทางบ้านไม่ดีนัก  ควรจะสอนอย่างช้าๆ
        ข้อเสนอแนะ ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้  Web/blog  แล้วละก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน เช่น ศูนย์ Race หรือ อาคาร 12 เพื่อประโยชน์ของนักศึกษาที่จะกอบโกยความรู้จากอาจารย์เท่าเทียมกัน
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
          ตอบ มีความพอใจมากที่สุด อาจารย์เป็นคนที่ใจดีมากกับนักศึกษา เป็นคนให้ความรู้แก่นักศึกษา และอาจารย์ตรงต่อเวลาตลอดในการเข้าสอน จะให้ข้อคิดแก่นักศึกษาตลอดเป็นประจำทุกๆคาบเรียนก่อนจะปล่อย   ขอให้อาจารย์เป็นอย่างนี้ตลอดไป

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
 1. Classroom Management การบริหารจัดการในชั้นเรียนการ (Classroom management ) ที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
2. Happiness Classroom   การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Educationการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.formal Education  การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ
5. Non-formal education การศึกษานอกระบบหมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning    การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7. Graded การเรียนระดับชั้น       
8. Policy education นโยบายการศึกษา
9. Vision วิสัยทัศน์ คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
10. Mission พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย (GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13.backward design การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14.effectiveness คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
15. efficiency คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
16.Economy เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค
17. Equity ความเสมอภาพ
18. Empowerment   การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement   การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20 project    แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย
21.Actives การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22.Leadership ความสามารถในการเป็นผู้นำ
23. leaders ผู้นำ
24. Follows  ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations  สถานการณ์
26. Self  awareness  การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้
27. Communication   การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร  มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness การยืนยันในความคิดตน
29. Time management การบริหารเวลา
30.  POSDCORB หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ  การสั่งการ  การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
31. Formal Leaders  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ
32. Informal Leaders ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า
33. Environment  สภาพแวดล้อม


34. Globalization   โลกาภิสวัตถ์  การแพร่หลายไปทั่วโลก
33. Competency  ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Organization Cultural   ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)  วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ
35. Individual Behaviorพฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี การจัดการสภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนพฤติกรรมที่หน่วยงานกำหนดให้ทำ และพฤติกรรมที่ต้องทำเร่งด่วน ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น หน่วยงานมีนโยบานที่จะเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็อาจจะประกาศหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นใหม่ ผลของพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมีผลต่อผลผลิต ความพึงพอใจ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กร
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกันและมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39. Six Thinking Hats หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
           1.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น
            2.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น
3.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
4.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี
5.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม
6.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking) หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด
 40. Classroom Action Research    การวิจัยในชั้นเรียน

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ

 
คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน  และภายนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  
Classroom management  มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา  คือเพราะการศึกษาเป็นการพัฒนาเยาวชน  ดังนั้นการศึกษาที่ดีก็ต้องสอดคล้องกับความต้องการของเยาวชนแต่ละคนแต่ละพื้นที่  ที่มีความต้องการและความสามารถไม่เหมือนกัน  ดังนั้น Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการศึกษาและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาที่จะต้องจัดการชั้นเรียนให้เข้ากับผู้เรียน  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการชั้นเรียนให้ทันต่อโลกปัจจุบัน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     -  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
     -  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     -  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
     -  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     -  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     -  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     -  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     -  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     -  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     -  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักการจัดชั้นเรียนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่น สบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้น เรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็น รูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดย จัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุม ห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงาน ไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพ แวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และ การเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดี ได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับ ชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการ อ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้ เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบาย เหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้น เรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้น เรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนัง เพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และ บริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
 5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่าง จัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและ หนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่ เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลัก สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพ ห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็น รูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรม การเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถาม กล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้ เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ ในที่สุด
จากที่ กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้าน กายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการ เรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติ ปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
ลักษณะของชั้นเรียนที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน  คือ
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
ครูประเภทที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน  คือสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย นัก เรียนและครูจะยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ แสดงความคิดเห็น ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้รู้จักทำงานร่วมกัน รู้จัก สิทธิและหน้าที่ของตนเอง มีเหตุมีผล นักเรียนจะรู้สึกสบายใจในการเรียน เป็น บรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
แผนที่ความคิดคืออะไร
แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซึก คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา  สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับความเป็นเหตุเป็นผล ตรรกวิทยาฯ  ส่วนสมองซีกขวา ทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ให้ทำงานประสานกัน
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด  แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง  แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )  การ เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats)  เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้ คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ  เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
          ตัวอย่างเช่น  วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลอง เป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ  การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก  6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา

กิจกรรมที่ 13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
        
      1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
             ไม่เหมาะสม  เช่น พฤติกรรมการบริโภคเพราะการบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเนื่องจากในอดีตเป็นการบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อความอยู่รอดหรือประทังชีวิตไปเป็นการบริโภคแบบตามความชอบของตัวเองตามกำลังทรัพย์หรือฐานะเพราะมีอาหารให้เลือกมากขึ้น ส่วนทางด้านสุขภาพ ก็มีความไม่เหมาะสมบ้าง เช่น  อาหาร  , หลีกเลี่ยงการออกแรง  ,  ขาดการออกกำลังกายความเครียด  ,การควบคุมอารมณ์ , สิ่งแวดล้อมในการทำงาน , สิ่งแวดล้อมที่บ้านและ
การพักผ่อน
 2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)    มีน้อยมากเพราะผู้คนในสมัยนี้ให้เวลากับงานเป็นส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพน้อยมาก3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) มีน้อยค่ะ เพราะว่าเด็กไทยควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้แต่เราก็ควรบอกเขาว่าเขาควรพยายามปรับอารมณ์ไปในทางที่ดีรู้จักการยอมรับกับในสิ่งที่เกิดขึ้น
การพัฒนาบุคลิกภาพ เช่น
1.มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
2. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
3. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง) ไม่เพราะในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงส่วนมากเด็กจะเยอะการดูแลเด็กให้ทั่วถึงมีน้อยมาก
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)    ทำความรู้จักกับนักเรียนเรื่อยๆจนรู้จักนักเรียนหมดทุกคน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. การคัดกรองนักเรียน
3. การส่งเสริมนักเรียน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5. การส่งต่อ

 6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
       เด็กจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตั้งแต่แรกเกิด การที่เด็กจะสามารถพัฒนาเด็กตามศักยภาพได้นั้น  เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม หมายความว่า เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ กาย ใจ จิต อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจริยธรรมและเด็กยังมีสิทธิในการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทำร้าย ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”) มี เช่นการ
๑. การควบคุมตนเอง
๒. ความเห็นใจผู้อื่น
๓. ความรับผิดชอบ
๔. การมีแรงจูงใจ
๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา
๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
๗. ความภูมิใจในตนเอง
๘. ความพอใจในชีวิต
๙. ความสุขสงบทางใจ
 8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
มีมาก
  9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ            มีแบบประเมินเพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบและส่งต่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน เพื่อครูจะได้สรุปนำสิ่งที่ผิดพลาดมาแก้ไขปรับปรุงอีกทีหนึ่ง

กิจกกรมที่ 12

ประทับใจจากสถานทีต่างๆที่ได้ไปศึกษาภาคสนาม ณ. พื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย
ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม พ.ศ 2554

                        แน่นอนครับจากก้าวแรกที่ผมเดินทางสู่จังหวัดนครปฐมมีความรูสึกว่าดีใจทีเรามาศึกษาและสัมผัสกับสถานทีนี้คือพระราชวังสนามจันทร์นั้นไม่ได้แค่เป็นสถานที่เดี่ยวที่ผมดีใจและประทับใจนี้ไม่ได้เป็นสถานทีที่ผมประทับใจมากครับยังมีสถานที่อีกมากมายที่ผมรู้สึกว่าประทับใจพระราชวังสนามจันทร์เป็นแค่สถานที่ของความความท้าท้ายของการได้มาศึกษาภาคสนามในครั้งนี้อาทิเช่น ได้ศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานทีนี้เป็นสถานทีที่พวกเราควรที่จะอนุรักษ์กันเพราะมันเป็นเมืองเก่าแก่วินาทีแรกทีผมเห็นถึงความสวยงามสถานทีนั้นผมเองก็รู้สึกดีใจที่ได้เห็นถึงความงดงามของปฏิมากรรมต่างๆที่คนไทยยังเก็บรักษามันอยู่ส่วนตัวผมเองครับผมรู้สึกอยากที่จะอนุรักษ์สถานทีงดงามอย่างนี้เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาต่อไป
พระราชตำหนักดอยตุง         
ต่อมาเป็นการได้สัมผัสถึงอากาศหนาวในตอนเช้าของวันใหม่นั้นคือสถานที่ดอยตุงและได้เที่ยวชมพระราชตำหนักดอยตุงรู้สึกดีใจมากที่เข้าไปในพระราชตำหนักเพราะเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่เปิดเราประชาชนได้เข้าชมพอดีเลยผมเองก็เป็นอีกคนที่ได้เข้าไปชมด้วยดีใจครับที่เห็นสถานที่ประทับของพระองศ์แม้ว่าเราจะเห็นไม่หมดเพราะเจ้าหน้าที่ไม่เปิดให้เข้าไปสถานทีสำคัญภายในแต่ผมได้ดูทางหน้าต่างของพระราชตำหนักแต่เสียดายอย่างนั้นก็คือเจ้าหน้าที่ห้ามถ่ายรูปอดที่จะเก็บภาพแห่งความประทับใจตรงนี้ไว้เพราะเป็นพระราชฐานเสร็จจากการได้เข้าเยี่ยมชมพระราชตำหนักดอยตุงแล้วพวกเราก็เข้าในสวนเจ้าสวนฟ้าหลวงซึ่งมีความสวยงามมากจนทำให้ใครหลายๆคนอดที่จะเก็บภาพไว้ได้ทุกคนตั้งหน้าตั้งตาถ่ายรูปกับสถานที่และดอกไม้
วัดร่องขุน
ความประทับใจอีกที่หนึ่งก็หนีไม่พ้นวัดร่องขุดวัดนี้เป็นวัดที่สวยมากซึ่งการออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งท่านนั้นได้ปรารถนาที่จะสร้างวัดเหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาดจนปัจจุบันนี้เพิ่มเป็น 9ไร่ พวกเราทุกคนที่ได้ไปก็ได้เก็บภาพเพื่อเป็นที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งเราได้มาดู มาเห็นประติมากรรมการก่อสร้างอาคารที่สวยมากฝรั่งเห็นก็อดที่เก็บภาพไม่เหมือนกันเลยดีใจแทนคนไทยทุกคนที่มีนักปฏิมากรรมการก่อสร้างไม่แพ้คนต่างประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ยอดดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศอากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว แน่นอนครับยามฤดูหนาวมีเมฆหมอกครึ้ม พวกเราทุกคนได้สัมผัสถึงความหนาวเย็นโดยการกางเต็นฑ์นอนกันบนอุทยานดอยอินทนนท์เพื่อที่สัมผัสอากาศหนาวในภาคกลางคืนทุกคนได้ก่อไฟขึ้นมาเพื่อที่จะรับบรรยากาศอบอุ่นมีเพื่อนส่วนหนึ่งไม่ยอมนอนเพื่อที่จะสัมผัสกับลมหนาวตอนกลางคืนเลยทีเดียว พอเช้าของวันรุ่นขึ่นพวกเราตื้นนอนตั้งแต่เพื่อจะไปสัมผัสอากาศหนาวในช่วงเช้ากันโดยขึ้นไปบนยอดดอยอินทนนท์อากาศบนยอดดอยหนาวมากจนให้ผมมือเจ็บเพราะกับความไม่ไวแต่ถึงยังไงความหนาวเย็นไม่ได้เป็นอุปสรรค์กับเพื่อนๆที่ขึ้นไปสัมผัสกับความหนาวบนยอดดอยอินทนนท์ในครั้งนี้
ทุกทีที่ได้ไปซึ่งล้วนแล้วมีความสำคัญทั้งสิ้นสำหรับคณะของพวกเราที่ได้เดินทางไปในวันนั้น สถานที่ต่างๆให้อะไรเรามากมายแต่อยู่ที่พวกเราว่าจะเอามามากน้อยเพียงใด จากการที่ได้เห็นรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจของเพื่อนๆนั้นกะรันตีได้เลยสุดยอดจริงๆกับสถานที่หรือความรู้ที่ได้รับและความรู้สึกที่ได้ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ผมมีวิธีดังต่อไปนี้
 1.วิชาที่สอนตรงตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น และในมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้อย่างไร คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 
2. ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียนดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
3.ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับผู้เรียนและต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้ในแต่ละกิจกรรมที่ผู้สอนจัดสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4.ผู้สอนจะต้องถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนทั้งเรื่องทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็นและเจตคติไปสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้สอนต้องเข้าใจผู้เรียนว่าต้องการสื่อการเรียนการสอนแบบใดและผู้สอนต้องนำมาประยุกต์กับสื่อการเรียนการสอนของตนเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง
5.ผู้สอนต้องวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยจากการวัดผลในเรื่องด้านการคิด อ่าน เขียน ด้านอารมณ์และด้านสติปัญญาของผู้เรียนและจากการร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน
6.ผู้สอนนำผลการประเมินที่ได้มาแก้ไขและหาข้อบกพร่องของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนต่อไป
7.ผู้สอนได้เห็นการจัดการเรียนการสอนของตนเอง แล้วนำมาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เกิดขึ้น โดยผู้สอนจะต้องนำเอาข้อผิดพลาดในการสอนมาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนต่อไป

ขั้นตอนการสอน
ในการนำการสอนแบบนี้ไปใช้  ผมคิดว่าผู้สอนจะต้องเตรียมปัญหา  ในประเด็นที่ต้องการ  โดยเขียนเป็นสถานการณ์  (Scenario)  หรือ กรณี  (Case)  ไว้ล่วงหน้า  และดำเนินการสอนตามขั้นตอน  ดังนี้
1. นำเสนอกรณีตัวอย่าง ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน  เช่นเล่าให้ฟัง  ให้อ่านจากบัตรกรณีตัวอย่าง  ให้ดู  VDO  แสดงบทบาทสมมติ  เป็นต้น
2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม  และทำความเข้ากับคำศัพท์  หรือความคิดรวบยอดของบางอย่าง  ในสถานการณ์  หรือกรณี  ที่กำหนดให้  ให้ชัดเจน  โดยอาศัยความรู้พื้นฐานเดิมของสมาชิกภายในกลุ่ม  หรือจากเอกสาร  และสื่อต่างๆ
3.  ให้กลุ่มระบุประเด็นปัญหาพร้อมทั้งระบุขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน
4.  ให้กลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา  โดยใช้ข้อมูล  และพื้นฐานความรู้เดิมของสมาชิก  เพื่อให้ได้แนวคิดและข้อสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างของปัญหา  กระบวนการ  และกลไกที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อสร้างสมมุติฐานที่สมเหตุสมผลให้ได้มากที่สุด
5.  ให้กลุ่มร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของสมมุติฐาน  โดยอาศัย  ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  รวมทั้งความรู้จากสมาชิกภายในกลุ่ม  เพื่อคัดข้อมูลสมมุติฐานที่เป็นไปได้น้อยออกไป  และเลือกเอาข้อสมมุติฐานที่มีความเป็นไปได้มากไว้ศึกษาต่อไป
6.  ให้กลุ่มร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันตรวจสอบ  และวิเคราะห์  ว่าการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่ได้เลือกไว้  จำเป็นจะต้องหาข้อมูล  ข่าวสาร  หรือความรู้เรื่องใดบ้าง  มาเพิ่มเติมด้วยการเขียนวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ออกมาเป็นข้อๆ
7.  ให้ผู้เรียนแยกย้ายออกไปศึกษา  ค้นคว้า  หาข้อมูล  ความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งวิทยาการต่างๆ  เช่น  เอกสาร  ตำรา  ผู้เชี่ยวชาญ  ฯลฯ
8.  ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  ค้นคว้าเสนอต่อกลุ่ม  ร่วมกันพิจารณา  ตรวจสอบข้อมูลที่จะใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน  หรือการแก้ปัญหาว่าถูกต้องเพียงพอหรือไม่  ถ้ายังมีข้อบกพร่องอยู่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วจึงทำการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่กลุ่มได้ร่วมกันตั้งไว้  และลงข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม  นำข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษา  และแนวทางในการนำความรู้  และหลักการไปใช้  นำเสนอและแลกเปลี่ยนในห้องเรียน