วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 9

โทรทัศน์ครู รายกราสร้างสรรค์ที่จะเปลี่ยน คนอาชีพครู ให้เป็น ครูมืออาชีพ
ครูดีสอนตามที่เรียนมา ครูเด่นสอนด้วยจิตวิญญาณ…” นี่คือนิยามการทำงานของครูในความเห็นของ  ม.ร.ว.สุทธิภาณี ยุคล หรือคุณนุ่น ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ของโครงการโทรทัศน์ครู ผู้ผลิตรายการ ครูมืออาชีพที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
05.45 น. อาจเป็นเวลาที่หลายคนยังไม่อยากลุกจากเตียง แต่สำหรับคนอาชีพ ครูแล้ว นี่คือช่วงเวลาที่พวกเขาจะได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับวิชาชีพของตน กับรายการครูมืออาชีพสารคดีสั้น 15 นาที ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนเทคนิคการสอน ในรูปแบบของ “Best practice” (กรณีศึกษา) จากครูมืออาชีพทั่วโลก
ด้วยธรรมชาติของรายการที่ไม่มีการเขียนสคริปท์ ทุก Best practice ที่นำมาออกอากาศ (ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ) จึงเป็นดั่งเงาสะท้อนของ ความเป็นจริงที่ล้วนแล้วแต่ท้าทายความสามารถของคนอาชีพครูให้คิดค้นหาวิธีปรับปรุงห้องเรียนของตน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการเติมเต็มความรู้ให้กับอนาคตของชาติ
รู้จักกับโครงการโทรทัศน์ครูโครงการของเราแบ่งเป็น 2 ส่วนค่ะ ส่วนแรกคือ รายการครูมืออาชีพ ที่ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ทางช่องไทยพีบีเอส อีกส่วนคือ สถานีโทรทัศน์ครูซึ่งออกอากาศทางช่องไทยคม 36 (ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 53) เมื่อเราออกอากาศเต็มรูปแบบก็จะมีรายการอื่นๆ อย่างเช่น ครูพบกูรู ครูในดวงใจ ห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และอื่นๆ มาออกอากาศเต็มเวลาม.ร.ว. สุทธิภาณีเล่าให้เราฟังพร้อมรอยยิ้มสดใส
ปัจจุบัน 80% ของรายการในช่องเราซื้อลิขสิทธิ์มาจากประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ จากนั้นค่อยนำมารีเวอร์ชั่น (Re-version) โดยเราจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำว่า ในบริบทของเมืองไทยนั้นครูไทยจะสามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ส่วนอีก 20% เป็นรายการที่เราผลิตขึ้นเอง ซึ่งจะไม่มีการเขียนบท แต่เป็นการฟังปัญหาจากครูผู้ชมทางบ้าน แล้วนำปัญหาเหล่านั้นมาเป็นโจทย์ของรายการ ดังนั้น รายการครูมืออาชีพจึงเป็นเสมือนกับ คอมมิวนิตี้ของครูทั่วประเทศเป็นที่ที่เขาสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน
สิ่งที่เราพบ คือ แม้จะเผชิญปัญหาเดียวกัน แต่ครูแต่ละคนในต่างที่ต่างถิ่น ก็จะมีวิธีหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต่างกันไป ซึ่งการเก็บข้อมูลตรงนี้ไว้มันมีประโยชน์มาก ตอนนี้ โทรทัศน์ครู ไม่ได้มีแค่รายการโทรทัศน์อย่างเดียว แต่เรายังทำเว็บไซท์ขึ้นเป็นเวทีกลางให้กับคนอาชีพครู มีการลงพื้นที่จริงเพื่อไปรับฟังปัญหาจากครูโดยตรง ฯลฯ ตามคอนเซ็ปท์ที่ว่า เชื่อมต่อทุกความรู้เพื่อครูไทย ซึ่งในคำว่า ความรู้นั้น เรา
หมายรวมถึงความรู้ในเชิง emotional ด้วย เพราะเราได้ศึกษาแล้วว่า ความหวังสูงสุดของคนอาชีพครู ไม่ได้อยู่ที่ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน แต่อยู่ที่ความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จของลูกศิษย์ ดังนั้น เราจะทำรายการที่ตอบสนองคุณค่าในจุดนี้ด้วย
การตลาดใหม่บนเครือข่ายและภาคี
เมื่อเป็นรายการทีวีที่มีรูปแบบเฉพาะตัว และยังไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทย การทำการตลาดให้กับรายการจึงต้องมีลักษณะเฉพาะการทำการตลาดของรายการนี้ก็จะไม่เหมือนกับของ consumer products เราจะแยกการทำงานเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือการสร้างการรับรู้ (awareness) และส่วนที่สองคือการสร้างเครือข่าย (networking) เราจะลงไปในระดับจังหวัด ไปพบกับ key influencers ของกลุ่มครูในแต่ละภูมิภาค เช่น ที่คณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ในสถาบันการศึกษา ไปหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครูหลายๆ แห่ง มันจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องสร้างแนวร่วมค่ะ
เราไปเพื่อบอกให้เขาใช้เราเป็นสื่อ เป็นตัวกลางให้เขาเชื่อมต่อหากัน มีการจัดภาคีเครือข่ายครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และจัดสัมมนาขึ้นโดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเจ้าภาพ ในกิจกรรมสัมมนาพวกนี้เราจะเชิญครูในพื้นที่ให้มาร่วมแบ่งปันทั้งปัญหาและความสำเร็จการเรียนการสอนเป็นอย่างไร สิ่งที่ต้องการคืออะไร คุยกับทั้งระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ จากนั้นก็เราค่อยมาวิเคราะห์ว่า เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง ฯลฯ ตอนนี้เรามีกิจกรรมลักษณะนี้เยอะมากค่ะ และก็จะขยายผลต่อไปเรื่อยๆ ด้วยเนื่องจากเป็นรายการโทรทัศน์ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายของโทรทัศน์ครูจึงต้องเข้าถึงครูทั่วประเทศ      ม.ร.ว.สุทธิภาณีบอกกับเราว่าการทำงานในระดับจังหวัดนั้นง่ายและได้ผลรวดเร็วที่สุด
ตอนแรกเราวางแผนสร้างเครือข่ายโดยแบ่งเป็น 9 ภูมิภาคค่ะ อย่างเช่น ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ฯลฯ แต่ต่อมาเราได้ค้นพบว่าการทำงานในระดับจังหวัดนั้นง่ายและเร็วกว่ามาก เนื่องจากครูในแต่ละจังหวัดมักจะรู้จักกันอยู่แล้ว ทำให้พวกเขาสามารถรวมตัวกันได้ง่ายและเร็ว มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ฯลฯ พอเรามองเห็นข้อได้เปรียบตรงนี้เราจึงเปลี่ยนมาสร้างเครือข่ายในระดับจังหวัดก่อน
สื่อสารสองทางสร้างสรรค์พัฒนา
ซึ่งในการทำงานเราจะสื่อสารกันแบบ 2 ทาง คือ เรามีการระดมความคิดแล้วให้กลุ่มครูสะท้อนกลับมาว่า รายการของเราให้อะไรบ้าง สิ่งที่ชอบ-ไม่ชอบคืออะไร ต้องการอะไรเพิ่มเติม จะนำเอาความรู้จากรายการของเราไปใช้ได้อย่างไร ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมาวิธีการสอนที่ครูท่านหนึ่งนำมาแชร์ แล้วท่านอื่นนำไปใช้ได้ผลดี ก็มีเช่น วิชาภาษาไทยที่สอนเรื่องการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ โดยให้เด็กออกไปยืนที่บันไดแล้วเดินขึ้น-ลง เพื่อให้เด็กเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเสียงสูงเสียงต่ำ เป็นต้น
หรือในบางประเทศที่เขาสอนเด็กเล็กเรื่อง citizenship ให้เข้าใจว่าการกระทำของคนในประเทศหนึ่งสามารถส่งผลต่ออีกประเทศหนึ่งได้ โดยครูเขาให้เด็กยืนเป็นวงกลมแล้วถือเชือกไว้ พอคนหนึ่งดึงเชือกมันก็กระทบไปถึงอีกหลายๆ คนด้วย  ตัวอย่างแบบนี้คือการแปลเรื่องนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และใช้สื่อที่ง่ายมากๆ
เข้าใจชีวิตครูก่อนออกแบบรายการครู
แม้เวลาเพียง 15 นาทีจะดูเป็นเวลาที่สั้นมาก จนไม่น่าจะครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อได้ แต่จากการวิจัยพบว่า 15 นาทีในตอนเช้านั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนอาชีพครู
ใครๆ อาจจะคิดว่าอาชีพครูเป็นงานไม่หนัก เลิกงานเร็ว มีปิดเทอม ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วครูเป็นอาชีพที่ทำงานหนัก และหาเวลาว่างได้ยากการวิจัยของเราพบว่าครูมีเวลาว่างเท่ากับเวลาพักดื่มกาแฟเพียงถ้วยเดียว ดังนั้น ระยะเวลาของรายการจึงต้องสั้นพอๆ กับเวลาดื่มกาแฟ ต้องไม่กินเวลาในชีวิตของเขาจนเกินไป เวลา 05.45 เป็นเวลาที่ครูตื่นมาทำภารกิจในตอนเช้า ซึ่งเขาสามารถเปิดโทรทัศน์ดูไปพร้อมๆ กับดื่มกาแฟด้วยพวกเราคิดว่าหากเราต้องการสนับสนุนการทำงานของครูจริงๆ เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงชีวิตของครูก่อน มิเช่นนั้นเราอาจไปทำในสิ่งที่เพิ่มภาระให้เขาก็ได้
รายการของเราอยากจะเป็นสื่อที่ใช้ง่าย ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตครู ให้เขาดูโทรทัศน์ครูเป็นไอเดียแล้วนำไปใช้เตรียมการสอนได้เลย นี่คือที่มาว่าทำไมเราถึงคัดมาเฉพาะ
best practice เท่านั้น ม.ร.ว.สุทธิภาณี จบบทสนทนากับเราพร้อมๆ กาแฟคำสุดท้าย
จับประเด็นกลยุทธ์โทรทัศน์ครู
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยแนวคิด User-Centred เห็นได้จากการเลือกเวลาออกอากาศตอน 05.45 น. (ครูตื่นเช้า เข้างานเช้า), ระยะเวลาออกอากาศแค่ 15 นาที (พอเหมาะกับช่วงเวลาดื่มกาแฟตอนเช้า), การนำเสนอเนื้อหาในแบบ best practices (เพื่อให้ครูนำไปทดลองใช้ได้เลย ไม่ต้องตีความมากมาย)
2. ทำการตลาดแบบ Social Network ที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การสร้างเครือข่ายครูในระดับจังหวัด สื่อสารกันแบบ 2 ทาง ร่วมรับรู้ปัญหาและแบ่งปันแนวทางแก้ไข

กิจกรรมที่ 8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)
          ความหมาย แบ่งพิจารณาได้ดังนี้
           1) วัฒนธรรม (culture) หมายถึง กลุ่มของค่านิยม ความเข้าใจ ความเชื่อ และมาตรฐานที่สมาชิกในองค์การยึดถือร่มกัน
           2) วัฒนธรรมองค์การ (organizational culture) หมายถึง ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ
            ดังนี้ วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นฐานคิด เป็นเป้าหมาย เป็นเครื่องมือที่บอกให้สมาชิกในองค์การทราบว่าการกระทำแบบใดดีหรือไม่ดี เป็นทิศทาง ในการตัดสินใจ และหลอกรวมสมาชิก ในองค์การโดยการใช้ภาษาเดียวกัน การกำหนดการเป็นคนในและคนนอกองค์การ กำหนดอำนาจและฐานะ พัฒนาแนวคิด (norm) หรือบรรทัดฐานความคิดที่กำหนดความสัมพันธ์ในกลุ่มนั้นกำหนดการให้รางวัลและการลงโทษเพื่อให้สมาชิกมีทิศทางเดียวกัน และอธิบายสิ่งที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจได้

แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
              แนว คิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล 

แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ
จะต้องเห็นคุณค่าหรือค่านิยม(value)ร่วมกัน ยึดถือแน่นแฟ้นในการติดต่อสัมพันธ์ภายในเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานร่วมกันบรรลุผลสำเร็จตามที่องค์การคาดหวังไว้การพัฒนาองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสม และเกื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลง (changes) ที่จำเป็น

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ             
          1. การธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ         
           2. การกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ         
           3. การพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน        
           4. การพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ

แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
           เนื่อง จากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการ สั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

                                               
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
 ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
 -ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
-แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
                  ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
2.  จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3.  จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4.  จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5.  จรรยาบรรณต่อสังคม 
พื้นฐานและแนวคิดโดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
 เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
        -สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
 - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
  การนำไปประยุกต์ใช้
                การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
             มาตรฐานวิชาชีพครู  จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ   ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู
                เป็นตัวชี้วัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

แน่นอน ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ ดังตัวอย่าง เช่นอาชีพด้านกฎหมายก็มีสภาทนายความ อาชีพด้านสถาปัตยกรรมก็มีสถาปนิกสมาคม อาชีพทางด้านการแพทย์ก็มีแพทยสภา อาชีพด้านการพยาบาลก็มีสมาคมการพยาบาลหรืออาชีพด้านการศึกษาก็มีคุรุสภา เป็นผู้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพของตนตามความมุ่งประสงค์ดังกล่าวข้างต้น การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
          สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาดูแลเรื่องมาตรฐานการอาชีพของครู และของผู้บริหารที่เรียกว่า “Professional Standard Boards” (KY: Education Professional Standards Board Website: available at,file//G:\Prostan10.htm) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ นอกจากนั้นก็จะมีคณะกรรมการวิชาชีพทางการศึกษาในแต่ละเขต แต่ละท้องที่ และแต่ละรัฐ เพื่อความพยายามให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถึงมาตรฐานขั้นต่ำของวิชาชีพ เป็นต้น ส่วนมาตรฐานวิชาชีพการศึกษาของประเทศไทย ก็ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยคุรุสภา ซึ่งการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าทั้งในรูปของการวิจัย และใช้ประโยชน์ผลการวิจัย การศึกษาเอกสารการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และอื่นๆ เพื่อประมวลข้อมูลมากำหนดเป็น มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเช่นนี้เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
1)คนเราย่อมเป็นคนของตัวเองถ้าเอาหลักสูตรมาใช้ก่อนได้รับอนุญาตจะเกิดอะไรขึ้น
2)หลักสูตรไม่มีมาตรฐานใช้ได้ไหม
3)จะเห็นได้ว่าต่างประเทศพัฒนาไปไกลแล้ว




กิจกรรม ที่ 5

เราได้อะไร
ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
            พระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
การนำไปใช้ประโยชน์
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน
            จริงอยู่ดังที่ขงจื้อกล่าวไว้คนดี คนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบแต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลว ได้ชัดเจนต้องมีวุฒิภาวะเพียงใด เยาวชนของเราบางคนยังมีวุฒิภาวะไม่ถึงพร้อม โดยเฉพาะถ้าเห็นตัวแบบนั้นเป็นครู เป็นพ่อ แม่ เขายิ่งอาจสับสนว่าเขาควรเลียนแบบอย่างที่เห็น ใช่หรือไม่
            พวกเราชาวครูทั้งหลาย คงทราบแล้วว่า ครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมา ทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครู และสังคมเพียงใด

กิจกรรม ที่ 4


 

สรุป ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่พวกเราไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนต้องยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก
เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต แต่สำหรับผมแล้วผมกลับเห็นว่าการสร้างศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่าแม้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว
            พวกเราก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องการไม่ให้เกิดความรุนแรงในสังคมภาวะความเป็นผู้นำแห่งยุคการเปลี่ยนแปลงในทางที่ถูกทางและวิธีโดยไม่ใช้ความรุนแรง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
    นายพรชัย   ภาพันธ์
 
อาชีพ:
รับราชการ  
ตำแหน่ง:
ผู้อำนวยการโรงเรียน
องค์กร/บริษัท:
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ที่อยู่:
หมู่ 17 บ้านคำแดง ตำบลเดิด
อำเภอ:
เมื่อง
จังหวัด:
จังหวัดยโสธร
รหัสไปรษณีย์:
35000
ประเทศ:
ไทย
 
 
ประวัติย่อ:
เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2502 ที่ศรีสะเกษ แต่ติดตามคุณพ่อไปเติบโตที่ยโสธร
การศึกษา ปริญญาโท การบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
รับราชการ 1 สิงหาคม 2522 
ดำรงตำแหน่งครูใหญ่จากการสอบคัดเลือก
พ.ศ.2531 และ
สอบคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2536
ประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.คุณภาพ)พ.ศ.2544
สิ่งที่ชอบทำยามว่าง เขียนบทความทางวิชาการ ประมาณ 20 เรื่อง
ตีพิมพ์วารสารวิชาการ ผลงานล่าสุด บทความเรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ

2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
            ผลงานล่าสุด บทความเรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
              ในด้านการบริหารจัดการที่ดีของท่าน
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
หลักการ/เจ้าของทฤษฏี
โบรฟี (สุภวรรรณ:2551) ได้กล่าวถึงการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า  หมายถึงการที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้และที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพการสร้างกฏระเบียและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง
เบอร์เดน (ศุภวรรณ : 2551 )  ให้คำจำกัดความของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นยุทศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซูซาน (ศุภวรรณ : 2551 )  ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึนในชั้นเรียนซึ่ง๔อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ต่อไป
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
การนำหลักการไปใช้
นำไปบริหารจัดชั้นเรียนเวลาสอนนักเรียนจริงในอณาคตเช่นหลักการจัดบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนการสอน
สรุปไดว่า เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน  อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม 
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน 
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี 
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม  
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ 
อ้างอิงจาก http://www.sobkroo.com/